บันทึกจากการเดินทาง นันทินี จันทพลาบูรณ์
อบรมทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับพี่เลี้ยงอาสาสมัคร
ณ บ้านครูกาจ-ครูเลขา โฮมสเตย์ จ.นครนายก
วันที่ ๑๗-๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐
ก่อนเดินทาง
ในฐานะผู้ประสานงานกลางชมรมจิตอาสารุ่งอรุณ เมื่อได้รับอีเมล์แจ้งข่าวว่าจะมีการอบรมสำหรับพี่เลี้ยงอาสาสมัคร (ได้รับการสนับสนุนทุนจากศูนย์ส่งเสริมคุณธรรม ดำเนินงานโดยศูนย์ปลูกรัก) ฉันรู้สึกว่าตัวเองน่าจะร่วมการอบรมครั้งนี้ เพราะจากการทำงานบางครั้งฉันพบว่าการสื่อสารกับครูอาสาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หลายครั้งที่ฉัน “พยายามใส่” ข้อมูล วิธีการ วิธีการจัดการ อาจเกินเลยไปถึง วิธีคิด ทัศนคติ ของฉันให้กับบรรดาคุณครูที่จะลงไปทำงาน และด้วยธรรมชาติที่ฉันมักคิดเร็ว ลงมือทำในทันที ทำให้การสื่อสารพูดจา (ครูอาสาบางคนก็เคยสะท้อนว่า) ผู้ฟังรู้สึกเหมือนถูกจู่โจม นอกจากนี้ฉันรู้สึกว่าตัวเองยังขาดทักษะการลงพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ แม้จะดูครูจอม ครูสมชาย เป็นตัวอย่าง แต่ก็ยังรู้สึกเคอะเขิน พูดไม่ออกบอกไม่ถูก เมื่อพบปัญหาในพื้นที่ มีความลังเลไม่แน่ใจ ฉันควรวางตัว วางใจอย่างไร
ในการเดินทางครั้งนี้มีเพื่อนๆ อาสาสมัครที่ทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง คือ ครูจอม ครูปุ้ย และ ครูสมพร (ซึ่งเสียดายที่ครูอดิเรกติดสอนวันจันทร์หลายคาบไม่สามารถร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ได้) ร่วมเดินทางไปด้วยกัน
เดินเครื่อง
เราออกเดินทางเย็นวันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม ต่างคนต่างมาพบกันที่จุดนัดคือ ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต ตรงข้าม ม.เกษตรศาสตร์ เจ้าหน้าที่ที่มาคอยดูแลขึ้นรถดูเหมือนนักศึกษา ผู้ร่วมอบรมทั้งหมด ๑๕ คน เดินทางด้วยรถตู้ ๒ คัน บนรถเราได้พูดคุยทักทายกับคนอื่นๆ พบว่าต่างมาจากองค์กร หน่วยงานที่ทำงานอาสาสมัครช่วยผู้คนในรูปแบบต่างๆ อาทิ มูลนิธิกระจกเงา ADRA มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ฯลฯ ถึงที่พักเดิมทีฉันเข้าใจว่าเราคงไปพักกับชาวบ้านเพราะแจ้งไว้ว่าเป็น
โฮมสเตย์ แต่บ้านครูกาจ-ครูเลขา ก็ไม่ต่างอะไรกับรีสอร์ททั่วไป ที่มีเรือนพักรับรองติดเครื่องปรับอากาศ มีห้องน้ำ ห้องประชุม สะดวกสบาย (หรือว่าโฮมสเตย์ในเมืองไทยหมายความเช่นนี้ไปเสียแล้ว)
แต่ที่หลายคนรู้สึกประทับใจคือ เหมือนเราไปพักอยู่ในสวนผลไม้ เพราะรอบๆ บ้านตลอดจนทางเดิน เต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิด เงาะ มังคุด มะปราง ชมพู่ และมะยงชิด (หน้าตาคล้ายมะปรางแต่มีขนาดใหญ่เหมือนไข่ไก่ ผลไม้ขึ้นชื่อของที่นี่) ผลที่สุกแล้วบางส่วนได้รับอนุญาตให้เก็บรับประทานสดๆ จากต้น เป็นสินค้าตัวอย่างให้ชิมก่อนตัดสินใจสั่งซื้อกลับบ้าน
พวกเราเข้าที่พัก รับประทานอาหารเย็น และพักผ่อนเพื่อร่วมการอบรมในเช้าวันอาทิตย์
ฉัน คนอื่น และ กระบวนการ
การอบรมครั้งนี้มีวิทยากรหลัก ๒ คน คือ คุณเอ๋ (ดร.พงษธร ตันติฤทธิ์ศักดิ์) และคุณกิ๊ก (อภิฤดี พานทอง) จากศูนย์ปลูกรัก ทั้งคู่อายุน่าจะไม่เกิน ๓๐ ต้นๆ คุณเอ๋เพิ่งจะจบด็อกเตอร์มาไม่กี่เดือน ส่วนคุณกิ๊กมีประสบการณ์จิตวิทยาที่ปรึกษามาพอสมควร ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่น่าจะอายุมากกว่าวิทยากรทั้งคู่ แต่ฉันคิดว่าวัยวุฒิไม่ใช่อุปสรรค เพราะสิ่งสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้ที่มีทั้งวัยวุฒิ และประสบการณ์ตรงมารวมกันในทีนี้ คือความต้องการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เราจะให้ความช่วยเหลือมากที่สุด
อบรมทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับพี่เลี้ยงอาสาสมัคร
ณ บ้านครูกาจ-ครูเลขา โฮมสเตย์ จ.นครนายก
วันที่ ๑๗-๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐
ก่อนเดินทาง
ในฐานะผู้ประสานงานกลางชมรมจิตอาสารุ่งอรุณ เมื่อได้รับอีเมล์แจ้งข่าวว่าจะมีการอบรมสำหรับพี่เลี้ยงอาสาสมัคร (ได้รับการสนับสนุนทุนจากศูนย์ส่งเสริมคุณธรรม ดำเนินงานโดยศูนย์ปลูกรัก) ฉันรู้สึกว่าตัวเองน่าจะร่วมการอบรมครั้งนี้ เพราะจากการทำงานบางครั้งฉันพบว่าการสื่อสารกับครูอาสาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หลายครั้งที่ฉัน “พยายามใส่” ข้อมูล วิธีการ วิธีการจัดการ อาจเกินเลยไปถึง วิธีคิด ทัศนคติ ของฉันให้กับบรรดาคุณครูที่จะลงไปทำงาน และด้วยธรรมชาติที่ฉันมักคิดเร็ว ลงมือทำในทันที ทำให้การสื่อสารพูดจา (ครูอาสาบางคนก็เคยสะท้อนว่า) ผู้ฟังรู้สึกเหมือนถูกจู่โจม นอกจากนี้ฉันรู้สึกว่าตัวเองยังขาดทักษะการลงพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ แม้จะดูครูจอม ครูสมชาย เป็นตัวอย่าง แต่ก็ยังรู้สึกเคอะเขิน พูดไม่ออกบอกไม่ถูก เมื่อพบปัญหาในพื้นที่ มีความลังเลไม่แน่ใจ ฉันควรวางตัว วางใจอย่างไร
ในการเดินทางครั้งนี้มีเพื่อนๆ อาสาสมัครที่ทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง คือ ครูจอม ครูปุ้ย และ ครูสมพร (ซึ่งเสียดายที่ครูอดิเรกติดสอนวันจันทร์หลายคาบไม่สามารถร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ได้) ร่วมเดินทางไปด้วยกัน
เดินเครื่อง
เราออกเดินทางเย็นวันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม ต่างคนต่างมาพบกันที่จุดนัดคือ ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต ตรงข้าม ม.เกษตรศาสตร์ เจ้าหน้าที่ที่มาคอยดูแลขึ้นรถดูเหมือนนักศึกษา ผู้ร่วมอบรมทั้งหมด ๑๕ คน เดินทางด้วยรถตู้ ๒ คัน บนรถเราได้พูดคุยทักทายกับคนอื่นๆ พบว่าต่างมาจากองค์กร หน่วยงานที่ทำงานอาสาสมัครช่วยผู้คนในรูปแบบต่างๆ อาทิ มูลนิธิกระจกเงา ADRA มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ฯลฯ ถึงที่พักเดิมทีฉันเข้าใจว่าเราคงไปพักกับชาวบ้านเพราะแจ้งไว้ว่าเป็น
โฮมสเตย์ แต่บ้านครูกาจ-ครูเลขา ก็ไม่ต่างอะไรกับรีสอร์ททั่วไป ที่มีเรือนพักรับรองติดเครื่องปรับอากาศ มีห้องน้ำ ห้องประชุม สะดวกสบาย (หรือว่าโฮมสเตย์ในเมืองไทยหมายความเช่นนี้ไปเสียแล้ว)
แต่ที่หลายคนรู้สึกประทับใจคือ เหมือนเราไปพักอยู่ในสวนผลไม้ เพราะรอบๆ บ้านตลอดจนทางเดิน เต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิด เงาะ มังคุด มะปราง ชมพู่ และมะยงชิด (หน้าตาคล้ายมะปรางแต่มีขนาดใหญ่เหมือนไข่ไก่ ผลไม้ขึ้นชื่อของที่นี่) ผลที่สุกแล้วบางส่วนได้รับอนุญาตให้เก็บรับประทานสดๆ จากต้น เป็นสินค้าตัวอย่างให้ชิมก่อนตัดสินใจสั่งซื้อกลับบ้าน
พวกเราเข้าที่พัก รับประทานอาหารเย็น และพักผ่อนเพื่อร่วมการอบรมในเช้าวันอาทิตย์
ฉัน คนอื่น และ กระบวนการ
การอบรมครั้งนี้มีวิทยากรหลัก ๒ คน คือ คุณเอ๋ (ดร.พงษธร ตันติฤทธิ์ศักดิ์) และคุณกิ๊ก (อภิฤดี พานทอง) จากศูนย์ปลูกรัก ทั้งคู่อายุน่าจะไม่เกิน ๓๐ ต้นๆ คุณเอ๋เพิ่งจะจบด็อกเตอร์มาไม่กี่เดือน ส่วนคุณกิ๊กมีประสบการณ์จิตวิทยาที่ปรึกษามาพอสมควร ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่น่าจะอายุมากกว่าวิทยากรทั้งคู่ แต่ฉันคิดว่าวัยวุฒิไม่ใช่อุปสรรค เพราะสิ่งสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้ที่มีทั้งวัยวุฒิ และประสบการณ์ตรงมารวมกันในทีนี้ คือความต้องการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เราจะให้ความช่วยเหลือมากที่สุด
เนื้อหาการอบรมประกอบไปด้วยการทำความเข้าใจ ๓ ฐาน คือ ฐานกาย ฐานใจ ฐานปัญญา (ซึ่งครูสมพรเทียบเคียงว่าก็คือ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง) ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ โดย ฐานกาย ใช้ชี่กง การผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หรือการผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ (total relaxation) ฐานใจ เปิดโอกาสให้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ใคร่ครวญ หรือจับคู่กับเพื่อนผลัดกันเป็นผู้ฟัง ผู้พูด ตามโจทย์ที่ได้รับ ส่วนฐานปัญญาฝึกผ่านการเล่นเกมเป็นทีมเพื่อแก้ปริศนา (คล้ายๆ รายการโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน)
เนื้อหาที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งที่วิทยากรพาเราทำความเข้าใจควบคู่กันไป คือ ๓ ทัศน์ คือ ทัศน์ของฉัน ทัศน์ของคนอื่น และ ทัศน์ของกระบวนการ ซึ่งล้วนดำเนินอยู่ในชีวิตของเราทุกคนอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ซึ่งฉันขอเล่าสิ่งที่ฉันเรียนรู้ตัวเองผ่านการทำกิจกรรมต่างๆไล่เรียงตามลำดับดังนี้
เนื้อหาที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งที่วิทยากรพาเราทำความเข้าใจควบคู่กันไป คือ ๓ ทัศน์ คือ ทัศน์ของฉัน ทัศน์ของคนอื่น และ ทัศน์ของกระบวนการ ซึ่งล้วนดำเนินอยู่ในชีวิตของเราทุกคนอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ซึ่งฉันขอเล่าสิ่งที่ฉันเรียนรู้ตัวเองผ่านการทำกิจกรรมต่างๆไล่เรียงตามลำดับดังนี้
· อยู่กับตัวเอง
วิทยากรให้แต่ละคนเดินไปรอบๆ ฝึกให้สังเกตร่างกายสื่อสารกับเราอย่างไร
ในช่วงแรกฉันเดินตามช่องสี่เหลี่ยมบนพื้นไปเรื่อยๆ และก็เปลี่ยนเป็นเดินทแยงบ้าง แต่สมองก็ยังสั่งอัตโนมัติให้เดินเป็นรูปแบบ ฉันพบว่าการอยู่กับตัวเองคนเดียว ฉันต้องใช้เวลาสักพักจึงจะค่อยๆ ปลดรูปแบบการเคลื่อนไหวที่สั่งการจากสมอง แต่เวลาที่ได้รับก็ยังไม่มากพอให้สื่อสารกับร่างกายได้ชัดเจนนัก จากนั้นวิทยากรให้จับกลุ่ม ๔ คน
· เช็คอิน
วิทยากรให้รวมกลุ่ม ๔ คน และให้ผลัดกันทีละคนพูดถึงสิ่งที่ค้างคาในใจ ความกังวลต่างๆ เพื่อปล่อยวางก่อนเริ่มการอบรม และขณะที่เพื่อนพูดอยู่ (ซึ่งเป็นกติกาตลอดการอบรมคือคนที่เหลือคือผู้ฟัง และให้สังเกตความรู้สึกตัวเอง (อยากพูดบ้าง อยากถาม อยากตอบโต้) โดยคนที่พูดแล้ว ต้องเว้นนั่งฟังเพื่อนไปอีก ๒ คน จึงจะพูดได้อีกครั้ง)
ฉันพูดคนแรก ปลดความกังวลเรื่องลูกที่ต้องไปภาคสนามช่วงเช้าฝากให้เพื่อนผู้ปกครองมารับ และลูกอีกคนต้องอยู่บ้านเองกับคุณยาย จะทำการบ้านหรือเปล่า เป็นแค่ความกังวลเล็กน้อยที่ฉันรู้สึกและพูดออกมาตามโจทย์ ในขณะที่ในกลุ่มอีก ๓ คน ฉันจำเรื่องของพี่น้ำเย็น (นักวิจัยอิสระ ประเมินโครงการต่างๆ) เล่าได้มากที่สุดเพราะพี่มีความกังวลเรื่องงานและรู้สึกเหนื่อยมาก รวมไปถึงปัญหาสุขภาพที่พี่น้ำเย็นเพิ่งพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งในระยะแรกเริ่ม แต่ก็ยังวางงานในมือไม่ได้ต้องจัดการให้เสร็จก่อนจะเข้ารับการรักษา ฉันรู้สึกเห็นใจ และถามตัวเองว่าถ้าเป็นตัวเองจะเลือกอย่างพี่เขาไหม อีก๒คนในกลุ่มชื่อจอมเหมือนกัน คือจอมจากรุ่งอรุณ และ จอมจากคนใจดี (หน่วยงานของรัฐที่ตั้งขึ้นเพื่อประสานให้ฝ่ายที่ต้องการความช่วยเหลือและฝ่ายให้ความช่วยเหลือมาพบกัน) ทั้งคู่พูดเรื่องงานบางส่วน แต่ดูไม่ใช่ความกังวล เป็นเหมือนเรื่องเล่าเพื่อแนะนำตัวเองส่วนหนึ่ง
· ตามล่าหาคน...สุดๆ
จากกลุ่ม ๔ คน วิทยากรให้ทั้งหมดรวมกันเข้าสู่กิจกรรม “ตามล่าหาคนสุดๆ” ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ ประเภท อาทิ ตามล่าหาคนอายุมากที่สุด อายุน้อยที่สุด มีความสุขที่สุด สวยที่สุด หล่อที่สุด มีความรักสุดๆ มาไกลสุดๆ ท่องเที่ยวสุดๆ เป็นต้น เราทั้งหมดจึงต้องใช้เวลาแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพิ่มเติม มีการเสนอชื่อเพื่อนและให้ข้อมูลจากที่ฟังมาในกลุ่มย่อย และโหวตในบางหัวข้อ สุดท้ายแต่ละคนจะส่งรายชื่อเพื่อนที่เราเห็นว่าตรงสุดๆ กับหัวข้อนั้นๆ จากนั้นวิทยากรขอให้คนที่ลงคะแนนให้เหตุผลว่าทำไมเราจึงเลือกเพื่อนในหัวข้อนั้น โดยที่เราแลกเปลี่ยนกันเพียงหัวข้อ ใครบ้างานสุดๆ ก็หมดเวลาแล้ว ซึ่งคนที่ได้คะแนนสูงสุดคือ พี่น้ำเย็นนั่นเอง เมื่อพี่น้ำเย็นฟังเสียงสะท้อนจากคนที่ลงคะแนนให้แล้ว ก็บอกว่ารู้สึกไม่อยากได้ตำแหน่งนี้ และตัวเองก็ไม่รู้สึกว่าเป็นคนบ้างาน แต่การได้ฟังเสียงสะท้อนก็ทำให้จะกลับไปทบทวนว่าการพูด การกระทำ ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร จึงทำให้คนเข้าใจอย่างนั้น ครูสมพรของเราก็เข้ารอบในหัวข้อบ้างานสุดๆ ด้วย มีคนให้คะแนนเพราะฟังเรื่องเล่าของครูสมพรมีความกังวลเพราะโทรศัพท์ตกน้ำ ทำให้ไม่สามารถติดต่อฝากชั้นเรียน(วันจันทร์) กับเพื่อนครูที่ห้องได้ (ภายหลังมีการสรุปคะแนนมาติดให้ดู แต่ไม่ได้แลกเปลี่ยน ครูปุ้ยเข้ารอบในเรื่องมีความรักสุดๆ เพราะทุกคนรู้ว่าปุ้ยจะแต่งงานในเดือนหน้า ส่วนฉันรู้สึกดีใจที่ได้คะแนนเรื่องเป็นคนมีความสุขสุดๆ แม้จะเพียง ๑คะแนนเสียง ซึ่งไม่รู้มาจากพวกเรากันเองหรือเปล่า)
· TRUST
จากกิจกรรมในช่วงเช้านี้ วิทยากรนำเข้าสู่เนื้อหา เรื่อง ทัศน์ของฉัน ทัศน์ของคนอื่น ซึ่งมีความแตกต่างกัน ซึ่งฉันเข้าใจว่าเราต้องรักษาสมดุล รู้จักเข้าใจตัวเอง มีความคิด ทัศนคติของตนเอง ที่มิได้อ่อนลู่ไปตามคำบอกเล่า ความคาดหวังของผู้อื่น แต่ขณะเดียวกันก็มิได้ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางไม่ฟังใคร วิทยากรตั้งคำถามว่า ใครที่เรารู้สึกไว้ใจ เมื่อมีเรื่องที่อยากหาที่ปรึกษาเรานึกถึงใคร เขามีลักษณะอย่างไร (ฉันนึกถึงครูจิ๋ว ท่าทีที่สงบ รับฟัง ไม่ตัดสินความคิดคนอื่น) โดยวิทยากรนำพวกเราเข้าสู่ประเด็นสำคัญของการดูแลให้ความช่วยเหลืออาสาสมัครว่ามีหัวใจสำคัญ คือ ความไว้วางใจ (ศรัทธา) หรือ TRUST ซึ่งการจะสร้างความไว้วางใจวิทยากรแยกเป็นองค์ประกอบย่อย และผู้ร่วมอบรมช่วยกันระบุคุณสมบัติ ดังนี้
T = Tuning in
วิทยากรใช้คำว่า “ปรับคลื่นใจ” และเพื่อนๆ ช่วยกันระบุ ท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมรับฟัง มีรอยยิ้ม ไม่เคร่งเครียด เป็นฝ่ายเปิดตัวเองก่อน ได้ยินสิ่งที่เพื่อนพูดจริงๆ ครูสมพรเสริมว่าคือมีจิตที่ว่าง พร้อมเปิดรับ ซึ่งฉันขอควบรวมว่า มีจิตเป็นกุศล ซึ่งจะส่งผลถึงท่าทีต่างๆ โดยธรรมชาติสามารถปรับคลื่นจูนติดได้ง่าย
แต่ตลอดกิจกรรม ๒ วัน ฉับพบว่าตัวเองใช้เวลามากกว่าคนอื่นๆ ในการที่เปิดตัวเองได้จริงๆ เหมือนกับเวลาลงพื้นที่ โดยเฉพาะกับบ้านที่มีข้อเรียกร้อง ฉันมักปิดเครื่องรับสัญญาณ
R= Respect
เห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน มีความอดทนให้เวลาผู้พูดโดยเชื่อว่าเขาสามารถหาทางออกได้ด้วยตนเอง (แม้จะรู้สึกว่าตัวเองเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่ต้องไม่เผลอเพราะฉันพร่องในข้อ S ด้านล่าง ซึ่งอาจส่งผลถึงข้อนี้)
U= Unconditional positive regard
การยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งต้องละวางอคติ การตัดสินจากประสบการณ์เดิม ระบุให้ชัดคือ การอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งวิทยากรให้คำจำกัดความภาวะของใจว่า เป็นใจที่ยืดหยุ่น พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา
ก่อนที่เราจะยอมรับผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข ฉันคงต้องเริ่มต้นที่ละวางเงื่อนไขต่างๆ ที่วางให้ตัวเองลงก่อน
S= Suspension
คือการเปิดพื้นที่ให้คนอื่น โดยหยุดความคิดของเราเพื่อที่จะฟังผู้อื่นให้ได้ยินจริงๆ ซึ่งฉันคิดว่าคือ ตัวสตินั่นเอง หลายครั้งที่เหมือนว่าเราฟังอีกคนอยู่ แต่ที่จริงแล้วภายในกลับได้ยินแต่ความคิดของตัวเอง และที่สุด หากไม่มีสติรู้ตัวเราก็จะปล่อยปากให้ขยับไปตามความคิด
T= Truthfulness
จริงแท้ ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตนเอง และ ผู้อื่น ซึ่งวิทยากรกล่าวว่า หากความไว้วางใจเกิดขึ้นแล้ว เราในข้อนี้จะทำหน้าที่สะท้อนภาพ เป็นเหมือนกระจก สะท้อนความจริงกลับไปยังผู้ที่เราให้ความช่วยเหลือ
การมีจิตเป็นกุศล และ ฝึกฝนสติรู้ตัวเป็นต้นทุนที่สำคัญ ในขณะที่ TRUST ที่วิทยากรไล่เรียงให้เห็น เสมือนตัวเตือน (check lists) ที่เราควรนำมาทบทวนตัวเองอยู่เสมอ
· Total Relaxation
ทั้งหมดนอนลงกับพื้นมีหมอนคนละใบ เรากลับมาอยู่กับตัวเองอีกครั้งในกิจกรรมนี้ แต่ฉันไม่รู้สึกสงบนัก ไม่รู้เป็นเพราะลักษณะเพลงที่เปิดหรือเสียงวิทยากรที่ผ่านไมโครโฟนที่มีระดับเสียงไม่สม่ำเสมอ ทำให้รู้สึกเหมือนถูกกระตุกเป็นช่วงๆ
· Photo Reflection
มีภาพถ่ายวางอยู่บนพื้น วิทยากรให้เราเดินดูให้ทั่วๆ และเลือกภาพที่สามารถสื่อสารกับเราได้คนละ ๑ ภาพ ฉันไม่รีบร้อนนัก พบ ๒-๓ ภาพที่ชอบใจ ส่วนใหญ่เป็นภาพสถานที่ที่ดูสงบ เป็นที่ที่ฉันรู้สึกอยากเข้าไปอยู่ (comfort zone) ซึ่งเวลานึกภาพ ฉันนึกภาพตัวฉันคนเดียวอยู่ในสถานที่นั้น แต่ก็ไม่ได้ตัดสินใจหยิบขึ้นมาทันที เมื่อจะย้อนกลับไป ๒ ภาพนั้นมีคนหยิบไปเสียแล้ว ฉันจึงดูภาพที่เหลืออยู่ และเลือกภาพม้า ๒ ตัว ถ่ายระยะใกล้ตัวเล็กกว่าอิงหัวเข้าหาตัวใหญ่กว่า ทั้งคู่อยู่ในคอก เบื้องหลังเป็นท้องฟ้าสดใส
เมื่อเลือกได้แล้ว วิทยากรให้เราจับคู่คนที่เราอยากจะบอกความรู้สึกที่เรามีต่อภาพนี้ โดยผลัดกันเป็นผู้เล่า และ ผู้ฟัง (ฝึกใช้ TRUST) ฉันจับคู่กับจอม (ซึ่งเราจับคู่กันอีกในเกือบทุกกิจกรรมที่ต้องเปิดเผยตัวเอง กับคนที่เราไว้วางใจ) ฉันเล่าให้จอมฟังว่า แรกเลยอาจมองม้าสองตัวนี้แล้วคิดถึงลูก ครอบครัว แต่สิ่งที่ภาพนี้สื่อสารกับฉันคือมิตรภาพ และ แม้ม้ามิได้วิ่งอยู่อิสระอยู่ในทุ่งกว้าง แต่รู้สึกถึงความสุขที่มันมีกันและกัน ฉันดีใจที่ไม่ได้หยิบภาพสถานที่ที่ดูอบอุ่นปลอดภัย แต่เลือกหยิบภาพที่มีสัมพันธ์ของชีวิตนี้ขึ้นมาแทน
ในขณะที่จอมเลือกภาพตุ๊กตาหมีที่หลับตา มีน้ำตาไหล ๑ หยด ทั้งตัวเต็มไปด้วยผ้าพันแผล พื้นหลังเป็นสีดำ หากแต่มีกรอบล้อมรอบเป็นช่อดอกไม้ ฉันตั้งใจฟังจอมพูด จอมสละภาพที่ชอบให้ปุ้ยที่เดินมาดูพร้อมกัน จึงเหลือเพียงภาพนี้ และเพิ่งหยิบมาดูใกล้ๆ (ไม่ได้ใส่แว่นสายตา) ถึงพบรายละเอียดของภาพ ประโยคที่ฉันได้ยินแสดงตัวตนของจอมชัดเจนมาก “นี่ถ้าเจ้าหมีมันลืมตาขึ้น มันคงเห็นว่ารอบๆ ตัวมันไม่ได้มีแต่ความมืดมิด แต่ยังมีสีสันสวยงามของดอกไม้อยู่” จอมเป็นเช่นนี้เสมอ มองหาความงามของชีวิตได้ ในขณะที่ฉันมักมองไปที่ความมืดมิดก่อน
หลังจากได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การฟัง ในวงใหญ่แล้ว วิทยากรให้เรามอบภาพที่เราเลือกเขียนความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะที่เพื่อนรับฟังเรื่องราวของเรา และมอบภาพพร้อมข้อความนั้นให้เพื่อน มีบางคนสะท้อนว่า ก่อนที่จะฟังเรื่องราวในภาพของเพื่อน มองไม่เห็นความงาม หรือ ไม่สามารถสื่อสารกับภาพนั้นเลย แต่เมื่อได้รับฟังมุมมองของเพื่อนที่มีต่อภาพนั้น และ บัดนั้นภาพนั้นได้กลายมาเป็นภาพของเรา และเรามองเห็นความงามของภาพนั้นได้ ฉันก็รู้สึกเช่นกัน หรือนี่คือพลังของการรับฟังแบบ TRUST
· เล่นเกมแก้ปริศนา “มันอยู่ที่ไหน”
เป็นกิจกรรมที่ฝึกฐานปัญญา วิทยากรให้เราแบ่งกลุ่ม ๔ คนอีกครั้ง แนะนำมาว่าควรแยกจากคนที่มาด้วยกัน ด้วยข้อสันนิษฐานว่า มาจากองค์กรเดียวกันมักคิดเหมือนกัน ไม่หลากหลาย การเล่นเกมนี้ต้องอาศัยวิธีคิดที่แตกต่างหลากหลายในการช่วยกันแก้ปริศนา
ฉันแยกจากจอม ครูสมพร และ ปุ้ย เกมนี้เป็นโจทย์ซ้อนโจทย์ มีตัวใบ้ให้หาคำใบ้ต่อๆ ไป กว่าจะพบประโยคที่ต้องตีความ เราต้องอาศัยทั้งการตีความปริศนา แอบฟังจากกลุ่มอื่นๆ บ้าง ต้องเดินหน้าหาโจทย์ที่เหลือไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าที่หามาได้ เราได้แก้ปริศนาถูกหรือยัง ได้คำใบ้อะไรมาก็แก้เฉพาะหน้าไปก่อน สุดท้ายกลุ่มที่ชนะ (ปุ้ยอยู่ในกลุ่มนั้น) ได้คำ ๘ คำ มาเรียงกัน คือ “ยิ่งฉันหนี มันยิ่งวิ่งตาม” คำเฉลยคือ “เงา” ซึ่งวิทยากรจะขยายความเรื่องเงาในวันที่สองของการอบรม
กลุ่มที่ชนะเล่าว่า เขาแบ่งเป็นกลุ่มย่อยให้ช่วยกันหาปริศนา และมิได้ไขปริศนาในทุกๆ ข้อ แต่ลองนำคำมาเรียงเท่าที่มี ก็สามารถไขปริศนาหลักได้ ในขณะที่กลุ่มฉันไปไหนไปด้วยกันในช่วงแรก มาแยกกันช่วงหลัง (มิได้นัดหมาย) และพยายามไขปริศนาให้ครบทุกข้อ แต่เมื่อไม่สามารถไขบางคำได้ ทำให้ติดอยู่แค่นั้น
มีปริศนาข้อหนึ่งที่สะท้อนให้ฉันมองเห็นวิธีคิดซับซ้อนของตัวเอง คือ ฉันตีโจทย์ที่หนึ่งได้ว่าต้องไปเอาโจทย์ปัญหาที่สองจากวิทยากร วิทยากรมอบโจทย์ที่สองให้พร้อมกับ dictionary English-Thai ๑ เล่ม โจทย์สั้นๆ ว่า “อารมณ์ขัน สอบตก และโชคดี (เกี่ยวกับตัวเลข)” ฉันก็เปิดหาทั้ง ๓ คำ จาก dictionary และจดเลขหน้าไว้ ทั้ง ๓ คำ พบว่ามาจากเลขหน้าที่เป็นเลขคี่ ทั้งหมด ฉันคิดว่านี่คือคำตอบ “คี่ หรือ ขี้” แต่ปรากฏว่าคำตอบที่ถูกต้องคือ คำว่า “วิ่ง” ซึ่งอยู่ในหน้า ๕๐๙ (๕ มาจาก ๕๕๕ มีความสุข ๐ คือ สอบตก และ ๙ คือ โชคดี) ขำก็ขำ และบอกตัวเองว่า จะทะลุตัวเองควรมองสิ่งที่อยู่ตรงหน้าง่ายๆ บ้าง
· ชมภาพยนตร์ Dreamer
เป็นภาพยนตร์ความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่วิทยากรต้องการนำเสนอเรื่อง TRUST ที่ตัวเอกของเรื่อง คือ ลูกสาว และ พ่อ มีต่อม้าแข่งตัวหนึ่ง ประเด็นที่ครูสมพรชี้ให้เห็นชัดเจนมาก ว่าในขณะที่ลูกสาว ไม่ติดกรอบประสบการณ์เดิมมีความกล้าและเชื่อมั่นในตัวม้า พ่อที่ติดกับประสบการณ์เดิม ความลังเล อคติ ทำให้ไม่กล้าก้าวข้ามความกลัว (กลัวแพ้ กลัวล้มเหลว ไม่กล้าเสี่ยง) สุดท้ายต้องเปิดใจตัวเองเรียนรู้จากลูก
· ชี่กง
คุณเอ๋นำฝึกเพื่อพัฒนาฐานกาย ฉันได้เรียนรู้ถึงการหายใจในระดับที่ ๓ คือ หายใจเข้าท้องแฟบ (ลมไปอยู่ที่หลัง) หายใจออกท้องป่อง ซึ่งเป็นการหายใจแบบเก็บพลัง (หายใจระดับที่ ๑ หายใจผ่านปอด หายใจระดับที่ ๒ หายใจด้วยท้อง หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ) และการฝึกให้ร่างกายได้จดจำการเคลื่อนไหว (ไม่ได้ใช้สมองจำ) ร่ายรำอย่างเป็นธรรมชาติ
· กระบวนการปฏิเสธ 1-2-3 (เงา)
ในชีวิตของเราแต่ละคน ตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นเด็ก มีข้อมูล ความรู้สึกหลากหลายที่เราเลือกที่จะรับหรือปฏิเสธ ทั้งๆ ที่ทั้งหมดคือ ตัวตน ของเราเอง กระบวนการที่วิทยากรยกเป็นตัวอย่าง คือ ๑.เป็นตัวฉัน ๒.แม่บอกซ้ำๆ ว่าฉันไม่ดี ฉันเริ่มแยกตัวตนออกมามี ฉันดี กับ ฉันไม่ดี
๓.การที่เป็นฉันดี คือ ต้องเชื่อฟังแม่ ซึ่งแม่บอกว่า ฉันไม่ดี ขั้นที่ ๓ นี้ ฉันปฏิเสธตัวตน “ฉันดี” แยกออกจากตัวฉัน และ ต่อต้าน คือ รู้สึกว่าฉันไม่เคยดีพอเลย ถ้าดีไม่ใช่ฉันแน่
และขั้นที่ ๓ นี้จึงเสมือนเรามีเงาที่ติดตามตัวเราไปตลอดเวลา
มนุษย์มีกลไกลการป้องกันตัวเอง ๓ ประเภท คือ
๑.โยนความผิดออกจากตัวเอง (โทษคนอื่น)
๒.เอาความผิดเข้าตัวเอง (โทษตัวเองว่าไม่ดี)
๓.ลังเล สับวน หาเหตุผลมาอ้างข้างๆ คูๆ
๑.โยนความผิดออกจากตัวเอง (โทษคนอื่น)
๒.เอาความผิดเข้าตัวเอง (โทษตัวเองว่าไม่ดี)
๓.ลังเล สับวน หาเหตุผลมาอ้างข้างๆ คูๆ
วิทยากรให้แต่ละคนอยู่กับตัวเองเพื่อระบุตัวอย่างประสบการณ์การถกเถียงภายในตัวเอง (มี ๒เสียงต่างให้เหตุผลในปัญหาที่เผชิญ และเสียงไหนชนะ) และให้เราลองดูว่ากลไกการปฏิเสธตัวเองของเรามักจะเป็นประเภทไหน
ฉันพบว่าฉันเป็นประเภทที่ ๑ เสียส่วนใหญ่ คือ พยายามให้ตัวเองเป็นคนดี และโทษคนอื่น หรือ เหตุผลข้างๆ คู มาอ้าง ยกตัวอย่าง เวลา ขับรถฉันมักคาดหวังให้คนอื่นขับดีๆ มีน้ำใจ ทำตามกฎจราจร ทำให้ต้องหงุดหงิดบ่อยๆ และฉันมักชอบโทษว่าถ้าเป็นผู้ชายขับรถ มักเห็นแก่ตัว เรื่องนี้ส่งผลเวลานั่งรถที่แฟนขับรถ ฉันก็มักรู้สึกอย่างนี้ นึกย้อนไปต้องแต่เล็กๆ พ่อของฉันมักว่าคนขับรถที่ไม่ถูกใจเช่นกัน และมักบอกว่า ผู้หญิงมักขับรถอย่างนี้ ฉันจึงพยายามขับรถให้คล่องแคล่วเหมือนผู้ชาย (เพื่อไม่ให้ถูกว่าว่าเพราะเป็นผู้หญิง) ในขณะเดียวกันเวลาที่ฉันขับรถไม่ดีก็จะมีข้ออ้างสารพัด เพราะรีบ แค่หนนี้ครั้งเดียว ฯลฯ เรื่องนี้นอกจากจะโทษพ่อแล้ว ยังโทษผู้ชายทั่วไปอีกด้วย (รู้สึกน่ากลัวจัง)
· กระบวนการยอมรับ 3-2-1
วิทยากรต้องการให้เราเข้าใจกระบวนการปฏิเสธตนเอง เพื่อให้เราเข้าใจว่าทุกๆ คนเป็นเหมือนกัน และหากเรารู้ตัว เข้าใจแล้ว เมื่อเรารับฟัง สื่อสารกับผู้อื่น เราก็อาจเห็นกระบวนการปฏิเสธตนเองในคนอื่นๆ เช่นกัน เราจึงควรเข้าใจ เปิดใจยอมรับผู้อื่น โดยเริ่มจากการยอมรับตัวตนที่เราปฏิเสธแยกออกไปก่อน ว่าเงานั้นคือ ตัวของเราเอง
ฝึกกระบวนการยอมรับผ่านการจับคู่อีกครั้ง โดยผลัดกันเล่าเรื่องราวที่เราค้นพบกระบวนการที่เราปฏิเสธ ปกป้องตนเอง โดยอีกฝ่ายจะทำหน้าที่รับฟังโดยใช้ TRUST ตลอดกระบวนการ ฉับพบว่าตัวเองสามารถระบุการปกป้องตนเองได้ ตามเรื่องราวข้างบน เมื่อเรียบเรียงให้ตัวเองเข้าใจได้ ฉันรู้สึกผ่อนคลายตัวเองลง จอมที่เป็นผู้รับฟังทำหน้าที่สุดท้ายคือสะท้อนความจริงให้ฉันรับรู้คือ ไม่ว่าใครก็ขับรถแย่ๆ ได้ ฉันไม่จำเป็นที่ต้องส่งต่อความคิดนี้ไปยังลูกๆ ของฉัน เหมือนที่ฉันรับความรู้สึกนี้มาจากพ่อ เมื่อแยกแยะได้ ฉันไม่ต้องโทษพ่อ หรือ ผู้ชาย แต่ยอมรับความไม่ดีที่ฉันแยกออกไปเพราะนั่นคือส่วนหนึ่งของตัวฉันเอง เมื่อเข้าใจตัวเองแล้ว ก็ตระหนักรู้เปิดโอกาสให้ตัวเองพัฒนาปรับปรุงตัวต่อไป
· ประมวลความรู้และพันธะสัญญา
ฉันระบุสิ่งตัวเองได้เรียนรู้และตั้งใจจะพัฒนาปรับปรุงต่อไป โดยเฉพาะเรื่อง TRUST ซึ่งคงมิได้นำมาใช้เฉพาะในงานจิตอาสาเท่านั้น แต่จะเป็นประโยชน์ทุกวันในชีวิตของเรา
สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นกำไรจากการเข้าอบรมครั้งนี้ คือ นอกจากจะได้รับรู้ประสบการณ์งานอาสาสมัครจากเพื่อนใหม่ๆ แล้ว ฉันยังได้เรียนรู้จากคนที่ฉันคิดว่ารู้จักอยู่แล้วมากขึ้น
ฉันเข้าใจแล้วว่าทำไมจอมถึงเข้าชุมชนได้ดี เพราะเขาเป็นผู้ที่รับฟังที่ไม่แทรกแซง สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา
ปุ้ยเองก็เปิดความรู้สึกของตัวเองมากขึ้นกับฉัน จากที่ทำงานร่วมกันมาตลอด ปุ้ยไม่เคยให้ความเห็นส่วนตัวว่า บ้านหลังไหนควรช่วยมากกว่าบ้านไหน รายงานแต่ข้อมูลทั่วไป ขากลับปุ้ยเริ่มเปิดความรู้สึกส่วนตัวว่าเขารู้สึกอย่างไรกับบางบ้าน ซึ่งฉันก็รับฟังอย่างมิได้ตัดสินใดๆ ให้เกียรติกับสิ่งที่น้องรู้สึก
ฉันประทับใจในตัวครูสมพร สามารถพูดได้อย่างภูมิใจว่าคนนี้เป็นครูรุ่งอรุณ ในวงที่แบ่งปันประสบการณ์ ครูสมพรมิได้อวดอ้างในงานที่ทำ หากแต่จะรู้จังหวะที่เหมาะสม เล่าประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนประเด็นที่เป็นประโยชน์กับวงสนทนารวม
ฉันเดินทางกลับบ้านด้วยความรู้สึกที่ดี การพบปะแลกเปลี่ยนทั้งความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงทัศนคติเชิงบวก ของอาสาสมัครในครั้งนี้ ถือเป็นการถ่ายเทพลังให้กัน และมั่นใจว่าพลังบวกนี้จะขยายผลส่งต่อไปยังคนรอบข้างของพวกเราแน่นอน.
1 comment:
ดีจังที่ได้อ่าน ขอบคุณมากที่แบ่งปันประสบการณ์ให้
อ่านแล้วน้ำตาซึมเป็นช่วงๆ ยินดีด้วยกับการเรียนรู้
รู้จักกับเอ๋ เพิ่งจัดงานแต่งกับกิ๊กไป11พค.เราไปร่วมงานมา เรียบง่าย น่ารัก
ดีใจที่โลกมันกลมจนทำใหคนดีๆที่เรารู้จักหมุนมาเจอกัน
หวังว่ามิตรภาพที่อบอุ่นเป็นกำลังใจให้ทุกคน
มัลลิกา(อ้อ)
Post a Comment